วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

บทที่ 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายใยแมงมุม หรือ WWW (World Wide Web)หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เว็บ"
                เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่าย
ใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดียทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดน และกลายเป็นแหล่งทรัพยากรของกระบวนการเรียนการสอนที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง

                เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการ อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนา แฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode)เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฎให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง
                จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมเกิดขึ้นทำให้
ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบริการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่มเมาส์เพียงอย่างเดียว
เท่านั้น


                การที่จะใช้บริการ WWW ได้นั้นจำเป็นจะต้อง มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้
                1. แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
              2. โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)


แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์
           
คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจ ที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูเว็บเพจที่ เก็บอยู่ใน
เว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติ
                    เว็บเพจเป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็ก (Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ
ในรูปของแฟ้ม ข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้นด้การ ยูนิกซ์ (UNIX) หรือวินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าขอเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจ ของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่นเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์
http://ww.swu.ac.th   เขียนด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html

โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)                    เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ ในการเข้าสู่ WWW และเปิดดูเว็บเพจ ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดง ได้โดยใช้โปรแกรม ประเภท Web Browser เช่น Netscape หรือ Internet Explorerเว็บเพจที่เป็นหน้าแรก ของเว็บเพจ นิยมเรียกกันว่า "โฮมเพจ" (Home Page)

 

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
           ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) . 2545. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.srithai.com/ E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียวหรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร ระหว่าง กันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้ เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่ายเขาก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้ว ความสะดวกเหล่านี้ทำให้นักวิชาการ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อน นักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใด ของมุมโลก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัด ปัญหาในเรื่อง ของเวลา และระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียน เป็นราย บุคคลได้เป็นอย่างดี ในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนา สังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัย รูปแบบหนึ่ง ที่มีความ สำคัญ คือ
1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค
2.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ตาม
3. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลา ส่งให้ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน
4. การส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่ง จดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง
 5. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก โปรแกรมของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้งก็สามารถเก็บข้อความ ไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย
 6. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถที่จะถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้
7. ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่าทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุด
เมื่อทุก บ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลก ก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงานตามสำนักงาน หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงานทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถสร้างฟอร์ม e-mail ไว้ให้เพื่อความสะดวกในการส่งข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น