วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับinternet

ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

 
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ประวัติของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค . ศ . 1960( พ . ศ . 2503) และ ได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา ค . ศ . 1969( พ . ศ . 2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อ จาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค . ศ . 1969( พ . ศ . 2512) นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลอง ประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค . ศ . 1975( พ . ศ . 2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ ( Defense Communications Agency – ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก , IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติ มาตรฐานใหม่ใน Internet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดย อาสาสมัคร ทั้งสิ้น ค . ศ . 1983( พ . ศ . 2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเตอร์เน็ตในปี พ . ศ . 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่   (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ . ศ . 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเตอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ . ศ . 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเตอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “ th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย ไทยเน็ต ” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ( ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค ( NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ )
การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ต
 อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลกจึงมีผู้ใช้จำนวนมากเพราะการเชื่อมโยงของอินเตอร์ทำให้โลกไร้พรหมแดน  ข้อมูลข่าวสารจะติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็วได้มีการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตกับงานอื่น ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
1.  Electronic  mail  หรือ  E-mail  เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล    ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับการส่งจดหมายถึงกัน  แต่ปัจจุบันการส่งไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์จะส่งเป็นรูปของตัวเลขหรือระบบดิจิตอล   จึงสามารถส่งรูป
ภาพ  เสียง  และภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย
2.  File  Transfer  Protocol    หรือ    FTP      เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน         ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างสถานีและนำไปใช้ประโยชน์ได้       เช่น        โปรแกรม  cuteFTP   โปรแกรม  wsFTP  เป็นต้น
3.  Telnet  การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย       ทำให้ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการที่อยู่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม       เช่น  การส่งโปรแกรมหรือข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างประเทศผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4.  Search  engine  ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้งานจำนวนมาก  ฐานข้อมูลแต่ละอย่างอาจจะเก็บในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นสิ่งพิมพ์  รูปภาพ  ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์  ฐานข้อมูลเป็นเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาได้  ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า World  Wide  Web  หรือ  www  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงทั่วโลก
5.  USENET    การอ่านจากกลุ่มข่าวในอินเตอร์เน็ตจะมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่ม ๆ    แยกตามความสนใจ    ซึ่งสามารถส่งข้อความไปได้และผู้ใช้สามารถเขียนโต้ตอบได้
6.  Chat   การสนทนาบนเครือข่าย        เมื่ออินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกันทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้โดยการสนทนากันด้วยตัวหนังสือผ่านทางจอภาพ     ปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าที่มองเห็นหน้ากันด้วย
7.  การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย  เป็นการประยุกต์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น  มีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเตอร์หลายร้อยสถานี   และยังมีการส่งกระจายภาพวีดิทัศน์บนเครือข่ายได้ด้วย แต่ยังส่งข้อมูลจำนวนมากไม่ได้
8.  การบริการบนอินเตอร์เน็ต  ปัจจุบันมีมากมายเช่น  การเผยแพร่ข่าวสาร    ความรู้  การซื้อขายสินค้า การทำธุรกิจอิเลคทรอนิกส์  การช่วยสอน และอื่น ๆ ที่ผู้ใช้โต้ตอบได้
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ครอบคลุม ไปทั่วโลก พร้อมกับมีข้อมูลมหาศาล ทุกประเภท ให้เราค้นคว้า และรับส่งข้อมูล ไปมาระหว่างกันได้ ในตอนนี้ จะขอยกตัวอย่างประโยชน์ ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ด้านต่าง ๆ ให้เห็นพอสังเขป
ในด้านการศึกษา เราต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ อินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุด ขนาดยักษ์ ส่งข้อมูลที่เราต้องการ มาให้ถึงบนจอคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงานของเรา ไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและอื่นๆ  
อีกส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็คือ ประโยชน์การรับส่งข่าวสาร ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กตรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ได้โดยค่าใช้จ่ายต่ำมาก นอกจากนี้ ยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียง ได้อีกด้วย
สำหรับด้านธุรกิจและการค้า ช่วยในการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ เราสามารถเลือกดูสินค้า พร้อมคุณสมบัติผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเรา และสั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วย บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งนับว่าเป็นความสะดวกสบาย และรวดเร็วมาก สินค้ามีจำหน่าย ทุกประเภท เหมือนห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เลยทีเดียว 
นอกจากนี้ ผู้ใช้ ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ หรือ สนับสนุน ลูกค้าของตน ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การตอบคำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คำแนะนำ รวมถึงข่าวสารใหม่ๆแก่ลูกค้าได้ ประโยชน์อินเตอร์เน็ต ที่ผู้ใช้กันมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง คือ ความบันเทิง และการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการ เช่น เลือกอ่านวารสารต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า magazine แบบ online รวมถึงหนังสือพิมพ์ และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ เหมือนกับหนังสือ ปกติที่เราดูอยู่กันทุกวัน 
โทษของอินเทอร์เน็ต
1. รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
2. มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
3. ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
4. รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
5. ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
6. หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
7. การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
8. มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
9. ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

บัญญัติ 10 ประการ สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
                2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
                3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
                4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
                5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
                6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
                7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
                8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
                9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
              10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท

....หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย....
ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มี บทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังการสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาลTHNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AITNECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทยผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ
แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ต
แนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยนั้น ความต้องการส่วนใหญ่ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังคงมุ่งไปที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของผู้สมัครใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ทั้งแบบใช้สายและไร้สาย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่แนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบธรรมดาในระบบความถี่แคบ (Narrowband) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up) มีปริมาณการใช้งานลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้บริการผ่านการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) ซึ่งก็คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงบนข่ายสายทองแดงหรือคู่สายโทรศัพท์ โดยปัจจุบันครองส่วนแบ่งการตลาดสูงกว่าร้อยละ 80 ของตลาดการให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหมด นอกจากนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างเห็นได้ชัด และมีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง คือการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Internet) ซึ่งได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G เพื่อให้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถรองรับการให้บริการภาพและเสียง และการรับส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี  WAP, GPRS, EDGE และ Bluetooth เป็นต้น

 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น