วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 5 เครือข่ายใยแมงมุม

เครือข่ายใยแมงมุม หรือ WWW (World Wide Web)
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เว็บ"

                เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่าย
ใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย
ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดน และกลายเป็นแหล่งทรัพยากร
ของกระบวนการเรียนการสอนที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง
                เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการ อินเทอร์เน็ต
ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนา แฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบ
ของตัวอักษร (Text Mode)เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฎ
ให้เห็นแต่อย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้น
ของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้ระบบ
ปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง
                จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมเกิดขึ้นทำให้
ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบริการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก
ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่มเมาส์เพียงอย่างเดียว
เท่านั้น
                การที่จะใช้บริการ WWW ได้นั้นจำเป็นจะต้อง มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้
                1. แหล่งข้อมูล หรือเว็บไซต์ (Web Site)
              2.
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)

แหล่งข้อมูล หรือ เว็บไซต์            คือระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บเว็บเพจ ที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกดูเว็บเพจที่ เก็บอยู่ใน
เว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์อาจจะใช้ระบบปฏิบัติ
  
                 เว็บเพจเป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็ก (Hypertext document) เก็บอยู่ที่เว็บไซต์ต่าง ๆ
ในรูปของแฟ้ม ข้อมูลที่มักจะสร้างขึ้นด้
การ ยูนิกซ์ (UNIX) หรือ
วินโดวส์เอนที (Windows NT) ก็ได้ ผู้เป็นเจ้าขอเว็บไซต์จะจัดสร้างเว็บเพจ ของตนเก็บไว้ที่เว็บไซต์เพื่อให้
ผู้ใช้คนอื่นทั่วโลก สามารถเข้ามาดูเว็บเพจที่เก็บไว้ในเว็บไซต์นั้นได้ เช่นเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จะเก็บอยู่ที่เว็บไซต์ http://www.swu.ac.th/   เขียนด้วย
ภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
โดยมีนามสกุลเป็น htm หรือ html
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)                    เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ ในการเข้าสู่ WWW และเปิดดูเว็บเพจ ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลนั้น
ขึ้นมาแสดง ได้โดยใช้โปรแกรม ประเภท Web Browser เช่น Netscape หรือ Internet Explorer
เว็บเพจที่เป็นหน้าแรก ของเว็บเพจ นิยมเรียกกันว่า "โฮมเพจ" (Home Page)


 โดเมนเนม (Domain Name) เป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโดเมนเนม  จะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่างก่อน โดยเริ่มตั้งแต่คำว่า  WWW  หรือ World Wide  Web  หรือ Web  หรือ W3  ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใคร ๆ   เข้ามาศึกษาค้นหาข้อมูล หรือมีข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามา ศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด  WWW  ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่ว ๆ  ไปตรงที่เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นประมาณ  Electronics  Library  หรือ e-library  นั่นเองและที่สำคัญคือ  ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว  ดังนั้น  ถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่น ๆ ให้อีกหาอยู่ที่  e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ  โดเมนเนม เป็นชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเรียกใช้งาน อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นชื่อหรือตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลบนอิน เทอร์เน็ต

ส่วนประกอบของโดเมนเนม
  โดเมนเนมจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 สับโดเมน (Sub Domain Name)
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain
 
ความเป็นมาของโดเมนเนม (Domain Name )

         อินเทอร์เน็ต (Internet) เริ่มต้นมาจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศึกษาและระบบเครือข่าย ที่รู้จักกันดีในนามของโครงการ “ARPANET” ซึ่งระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานตรงนี้ก็คือ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocol) โดยใช้ระบบปฏิบัติการ IUNIX ซึ่งช่วยให้การเชื่อมโยงสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจจากคนทั่ว โลก
        ในระยะแรก การใช้งานในอินเทอร์เน็ตไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก  เพราะเครื่องที่อยู่ใน เครือข่ายมีไม่มาก  แต่ต่อมาเมื่อมีคนสนใจและมีเครือข่ายการใช้งานที่กว้างมากขึ้น  ก็เลยทำให้เกิดความต้องการในการใช้ชื่อที่ง่ายและไม่ซับซ้อน จำง่าย แทนที่จะใช้ในลักษณะของ IP Address ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่ใช้อยู่   ซึ่งทำให้เกิดการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของ “Name Server” ขึ้นมาครั้งแรก ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องรู้จัก และนี่ก็คือต้นกำเนิดของการใช้โดเมนเนมในปัจจุบันและหลังจากนั้นไม่ไม่นาน Domain Name System (DNS) ชุดแรกที่ถูกนำออกมาให้ทุกคนได้ใช้งานมีอยู่ด้วยกัน  5  แบบ โดยเราสามารถแยกความแตกต่างของโดเมนเนมได้จากตัวอักษรย่อที่ต่อจากชื่อ เช่น www.****.com หรือ www. ****.net หรือ www. ****.org  ระยะแรกนี้การจดโดเมนเนมจะทำได้โดยไม่ต้องเสียเงิน โดยมี IANA เป็นผู้ดูแล แต่ระยะหลังเมื่อทาง IANA และ NSF (National Science Foundation) ได้ร่วมกันจัดตั้ง InterNIC ขึ้นมา   เริ่มมีการคิดค่าใช้จ่ายในการ    จดทะเบียนตามมา 100 USD ใน  2  ปีแรกของระยะแรกและลดลงมาเป็น  70  USD  โดยมี ICANN หรือ  Internet Corporation for Assigned Names and Numbers  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมา   

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต (TCP/IP)

         การสื่อสารข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยในการโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการอาศัยภาษากลางในการสื่อความหมายระหว่างกันเพื่อให้เกิด เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้การสื่อสารระหว่างกันภายในเครือข่ายได้อย่างรวมแล้วและมี ประสิทธิภาพ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเรียกว่า Protocol  เป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่า Protocol นั้นหมายถึง มาตรฐานทางด้านภาษาสื่อสารในการที่จะควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและ ปลายทาง  สำหรับการสื่อสาร       บนอินเทอร์เน็ตนั้นได้ใช้ Protocol ที่มีชื่อว่า TCP/IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเกิดจากมาตราฐาน 2  แบบ คือ TCP มีหน้าที่ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า Packet ที่มีขนาดเล็กกว่า 1,500  ตัวอักษร  และทำหน้าที่ประกอบข้อมูลที่แบ่งย่อยออกมาเหล่านี้ในฝั่งของปลายทางที่รับ   ข้อมูล  ส่วน IP นั้น  ทำหน้าที่ในการกำหนดเส้นทางของการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทาง
หลักการทำงานของ TCP/IP
           หลักการทำงานของ TCP/IP มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 TCP  ทำหน้าที่ในการที่แตกข้อมูลที่ต้องการออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนย่อยนี้เรียกว่า Packet โดยแต่ละ Packet จะมีส่วนหัวเรียกว่า Header  ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูล  เกี่ยวกับลำดับของแพ็กเก็ตซึ่งจะถูกนำมาใช้เพื่อประกอบข้อมูลกลับมายังฝั่ง ของผู้รับ
ขั้นตอนที่ 2    Packet แต่ละ Packet จะถูกนำส่งไปแต่ละ IP              ซึ่ง  Packet  แต่ละ Packet จะมี IP เป็นของตนเอง ภายใน IP แต่ละตัวจะถูกกำหนดที่อยู่ปลายทางของผู้รับ และผู้ส่ง โดยจะมีการกำหนดช่วงเวลาและอายุของ Packet
ขั้นตอนที่ 3   Packet  ถูกส่งออกไปบนระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเร้าเตอร์              ( Router) ซึ่ง IP  จะถูกตรวจสอบที่อยู่ปลายทางเมื่อผ่านเร้าเตอร์แต่ละตัว   หลังจากนั้นเร้าเตอร์จะทำหน้าที่หาช่องทางในการ
ขั้นตอนที่ 4   เมื่อ Packet  เดินทางไปถึงปลายทางเรียบร้อยแล้ว TCP จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลภายใน Packet อีกครั้ง ว่าครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่  ถ้าไม่ครบหรือไม่ถูกต้องจะทำการทิ้ง Packet นั้นไปแล้วเรียกกลับไปต้นทางใหม่อีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 5   เมื่อปลายทางนั้นได้รับ Packet ที่ถูกต้องครบทั้งหมดแล้ว TCP จะทำหน้าที่ประกอบข้อมูลให้พร้อมที่จะใช้งานต่อไป

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น